ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะทำอะไร ต่าง ๆก็สามารถทำได้ง่ายดาย โดยที่ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น สามารถช่วยให้เราทำงานได้มากขึ้น ยังสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการโทรคมนาคม ด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงด้านการศึกษา
ในด้านการศึกษานั้น ได้มีเทคโนโลยีด้านการศึกษามากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่า จะเป็นสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน สื่ออินเตอร์เน็ตที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน รวมไปถึงอุปกรณ์การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ตสำหรับภายในองค์กรการศึกษา หรือ โรงเรียน สถานที่ต่าง ๆ อีกนับไม่ถ้วน จึงทำให้เกิดสื่อมัลติมีเดียขึ้นมามายมากในปัจจุบัน
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction : CAI ) เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เน้นการใช้งานในเครื่องเดี่ยว
(Stand Alone) โดยมีการออกแบบให้มีกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ
ที่เน้น ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับบทเรียน
พร้อมทั้งได้รับผลย้อนกลับ (Feedback) อย่างทันทีทันใด
รวมทั้งสามารถประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
โดยมีเป้าหมายสำคัญ ในการเป็นบทเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
และกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ซึ่งส่วนใหญ่แล้วรูปแบบการเรียนนี้
มักจะได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอม
2. การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย
หรือการสอนบนเว็บ (Web Based Instruction : WBI) เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เน้นการใช้งานในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หรืออินทราเน็ต เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้
และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา
โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ
ในการจัดการสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน
ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดผ่านเว็บนี้
อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้
3. E–Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้
ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ
สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้
ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ
(Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line
Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ
อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์
ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึง
e-Learning
จะหมายเฉพาะถึงการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศ
ซึ่งออกแบบมาสำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web
Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา และเทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course
Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ
โดยผู้เรียนที่เรียนจาก e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์
หรือจากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ นอกจากนี้ เนื้อหาสารสนเทศของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
(Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive
Technology)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น