ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก
ไม่ว่าจะทำอะไรต่างๆก็สามารถทำได้ง่ายดาย โดยที่ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น
สามารถช่วยให้เราทำงานได้มากขึ้น ยังสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์ ด้านการติดต่อสื่อสาร
ด้านการโทรคมนาคม ด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงด้านการศึกษา
ในด้านการศึกษานั้น
ได้มีเทคโนโลยีด้านการศึกษามากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่า
จะเป็นสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
สื่ออินเตอร์เน็ตที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีทัศน์
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน รวมไปถึงอุปกรณ์การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
และอินทราเน็ตสำหรับภายในองค์กรการศึกษา หรือ โรงเรียน สถานที่ต่าง ๆ
อีกนับไม่ถ้วน จึงทำให้เกิดสื่อมัลติมีเดียขึ้นมามายมาก
สื่อมัลติมีเดีย แปลความหมายได้หลายอย่าง หากพิจารณาคำว่า Multimedia ตามพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ ซึ่งหมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ
เพื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลเป็นหลัก
โดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากเทคนิคการนำเสนอ เช่น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบนจอภาพคอมพิวเตอร์หรือบนจอรับภาพในรูปแบบอื่นๆ
คำศัพท์เฉพาะมีหลายคำที่ใช้ร่วมกับมัลติมีเดีย
เช่น การนำเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย (Multimedia Presentation)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยระบบมัลติมีเดีย (Multimedia CAI) และคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดีย
(Multimedia computer systems)
หากพิจารณาการใช้คำศัพท์เหล่านี้
จะพบว่ามัลติมีเดียนั้นได้รวมเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ด้วยกัน จะเน้นส่วนไหนมากน้อยกว่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้
การนำเสนอด้วยระบบมัลติมีเดียเน้นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการมองภาพของการนำเสนอมากกว่ากระบวนการ
และอุปกรณ์ในการสร้างงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยระบบมัลติมีเดีย
หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย จะให้ภาพทัศน์คล้าย ๆ
กับการนำเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย
ความเป็นมาของสื่อมัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะได้นำมาใช้ในการฝึกอบรมและให้ความบันเทิง
ส่วนในวงการศึกษามัลติมีเดียได้นำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนในลักษณะแผ่นซีดีรอม
หรืออาจใช้ในลักษณะห้องปฏิบัติการมัลติมีเดียโดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า
มัลติมีเดียจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษาในอนาคต
ทั้งนี้เพราะว่ามัลติมีเดียสามารถที่จะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว
ดนตรี กราฟิก ภาพถ่ายวัสดุตีพิมพ์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์
ประกอบกับสามารถที่จะจำลองภาพของการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแบบเชิงรุก
(Active
Learining)
สื่อมัลติมีเดียเริ่มต้นในราว ๆ ต้นปี พ.ศ.
2534 พร้อมๆ กับการใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.0
ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องพีซี (PC) และเป็นระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า
กราฟิกยูซเซอร์อิเทอร์เฟท (Graphic User Interface) หรือที่เรียกย่อ
ๆ ว่า GUI สำหรับ GUI เป็นอินเทอร์เฟทที่สามารถแสดงได้ทั้งข้อความ
(Text) และกราฟิก (Graphic) ซึ่งง่ายต่อการใช้งานต่อมาในราว
ๆ ต้นปี พ.ศ.2535 บริษัทไมโครซอฟต์ด้พัฒนาโปรแกรมมัลติมีเดียเวอร์ชั่น 1.0
ที่ใช้ร่วมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.0 ทำให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในเรื่องของภาพและเสียง
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมาตรฐานมัลติมีเดียที่เรียกว่า มาตรฐานเอ็มพีซี (MPC
: Multimedia Personal Computer) ซึ่งมาตรฐานนี้จะเป็นสิ่งกำหนดระบบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียวที่เล่นบนระบบ
ปฏิบัติการวินโดวส์
องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดีย
มัลติมีเดียสามารถจำแนกองค์ประกอบของสื่อต่างๆ
ได้เป็น 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้อความหรือตัวอักษร(Text) ภาพนิ่ง
(Still Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพวิดีโอ (Video) แล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อใช้สำหรับการปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบ (Interaction)
ระหว่าง
คอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้สามารถเลือกกระทำต่อมัลติมีเดียได้ตามต้องการ
ตัวอย่างเช่น
ผู้ใช้ได้ทำการเลือกรายการและตอบคำถามผ่านทางจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จำทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ย้อนกลับผ่านทางจอภาพให้ผู้ใช้เป็น
อีกครั้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ
อีกมากมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือและรูปแบบที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน
ตัวอย่างเช่น การสร้างปุ่มเมนูหรือข้อความที่มีสีแตกต่างจากข้อความปกติ
เมื่อผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับส่วนนี้ ระบบก็จะเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงหรือวิดีโอ
ตามที่ได้มีการออกแบบไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น จึงถือได้ว่า
การปฏิสัมพันธ์ในมัลติมีเดียเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่นๆ
สำหรับหัวข้อย่อยของเนื้อหาส่วนนี้ ประกอบด้วย
1. ข้อความหรือตัวอักษร (Text)
2. ภาพนิ่ง (Still Image)
3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
4. เสียง (Sound)
5. ภาพวิดีโอ (Video)
รูปแบบของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
สื่อมัลติมีเดีย เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
โดยผู้ออกแบบ หรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรม ได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ และข้อความ
เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสาร และการให้ประสบการณ์
เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพนั่นเอง บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามี
2 ประเภทดังนี้
1. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ
เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูลสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมเป็นฐานในการนำเสนอข้อมูลด้วย เช่น
ควบคุมการเสนอภาพสไลด์มัลติวิชั่น ควบคุมการนำเสนอในรูปแบบของวิดีโอเชิงโต้ตอบ (Interactive
Video) และเครื่องเล่นซีดี-รอม ให้เสนอภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
ตามเนื้อหาบทเรียนที่ปรากฏอยู่บนจอคอมพิวเตอร์
ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปการสื่อสารทางเดียว
1.1
เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
1.2 ผู้รับข้อมูลมักจะเป็นกลุ่มย่อย
จนถึงกลุ่มใหญ่
1.3 มีวัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ เป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อ ประกอบการตัดสินใจ
ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
1.4
เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นขั้นตอน
ไม่เน้นการตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
1.5
โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ
2. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ
โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
และนำเสนอแฟ้มที่ผลิตแล้วแก่ผู้ศึกษา ผู้ศึกษาก็เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียน
หรือใช้งาน ตามที่โปรแกรมสำเร็จรูปกำหนดไว้ ก็จะได้เนื้อหาลักษณะต่าง ๆ
อย่างครบถ้วน โดยการนำเสนอข้อมูลของสื่อมัลติมีเดียนี้
จะเป็นไปในลักษณะสื่อมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive)
2.1
เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
2.2 ผู้รับข้อมูลใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง
หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
2.3 มีวัตถุประสงค์ทั่วไป
และวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ
ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างเนื้อหา
2.4 รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบสอน การมีปฏิสัมพันธ์
การตรวจสอบความรู้ โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
2.5
โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียน เป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
2.6
การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
การนำสื่อมัลติมีเดียไปใช้ในการสอน
1. คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนำเสนอบทเรียน (Computer
Multimedia Presentation) โดยผู้สอนเป็นผู้ใช้อย่างเดียวในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนพร้อมประกอบด้วยภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียงประกอบรวมทั้งมีการอธิบายโดยผู้สอนในรายละเอียดของเนื้อหา
2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
(Computer Assisted Instruction) ส่วนใหญ่มักจะจัดทำเน้นไปทางการเรียนด้วยตนเองมากโดยผู้เรียนเป็นคนใช้โดยออกแบบวิธีการเสนอเนื้อหาบทเรียน
(Instructional (Design) ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
ใช้เทคนิคของการเสริมแรง (Reinforcement) และหลักการปฏิสัมพันธ์
(Interactive) และหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้โดยเฉพาะกระบวนการของจิตวิทยา
Cognitive psychology ที่เน้นกระบวนการคิดและใช้วิธีการวิเคราะห์การเรียนรู้ข่าวสารของมนุษย์นำมาใช้ประกอบกันอย่างเป็นระบบ(System)
3. หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Textbook) เป็นการจัดทำเนื้อหาในตำราและหนังสือเรียนให้อยู่ในรูปของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
โดยมีรายละเอียดด้านเนื้อหารูปภาพเหมือนหนังสือทั่วไป โดยอาจมีภาพเคลื่อนไหว
และเสียงรวมทั้ง
ไฮเปอร์เท็กซ์เข้ามาประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้มีสีสันรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น
4. หนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Reference) เป็นการจัดทำหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น
เอ็นไซโคลพีเดีย,ดิกชันนารี,นามานุกรม,วารสารที่ออกเป็นชุด ฯลฯ ให้อยู่ในรูปของซอฟต์แวร์มัลติมีเดีย
โดยมีรายละเอียดการจัดทำเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดียทางการเรียนการสอน
การนำเอาสื่อมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาเพื่อให้เกิดผลทางการเรียนการสอนไม่ว่าจะใช้สื่อมัลติมีเดีย
รูปแบบใดก็ตาม มีแนวทางในการประยุกต์ใช้ตามขั้นตาม การสอนทั่วไปดังนี้
1. การนำเสนอเนื้อหา (Content
presentation) ในรูปแบบลักษณะต่าง ๆ และขั้นตอนต่าง ๆ กัน
2. การชี้แนะผู้เรียน (student
guidance) โดยผู้เรียนไม่สามารถเปิดดูเนื้อหาที่อยู่ในคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการศึกษาได้ทันทีเหมือนหนังสือจึงจำเป็นต้องมีระบบนำร่อง
(Navigation System) ควบคู่กับการชี้แนะเนื้อหาหรือวิธีเรียนของผู้เรียนเพื่อป้องกันผู้เรียนหลงทาง
3. การฝึกฝนโดยผู้เรียน (Student
practice) เป็นจุดเด่นของสื่อการศึกษาชนิดนี้ เพราะสามารถ
กำหนดกิจกรรมและกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกฝนตนเองได้ตามความสะดวกและสามารถทำซ้ำ
ๆ กันได้โดยไม่จำกัดเหมือนกับการฝึกฝนกับผู้สอนโดยตรง
4. การประเมินผลการเรียนรู้ (Learming
evaluation) ขั้นตอนนี้เป็นจุดเด่นของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
เพราะผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ถ้าผลออกมาไม่น่าพอใจสามารถเรียนซ้ำและประเมินผลอีกได้โดยไม่กระทบกระเทือนผู้สอน
ประโยชน์ของมัลติมีเดียทางการเรียนการสอน
1.
เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด
และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า
สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
2. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย
เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
3.
สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ
ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์
ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring
Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5.
ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน
เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ
ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
6.
สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น
ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่
ตนเองต้องการ
7. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย
สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้
หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ
นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว
ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย
ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย
สรุป
ปัจจุบัน
สื่อมัลติมีเดียบนเว็บและสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอมกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
การออกแบบสื่อมัลติมีเดียมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน
เช่น หากออกแบบเพื่อการเรียนการสอน
เราเรียกว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
หรือ Computer
– Assisted Instruction ( CAI) สื่อมัลติมีเดียไม่จำเป็นต้องเป็น CAI เสมอไป ข้อมูลต่าง ๆ
ที่เราสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีภาพและเสียงก็ถือเป็นสื่อมัลติมีเดีย ในช่วง
5 ปีที่ผ่านมา
สถาบันการศึกษาเกือบทุกระดับได้เล็งเห็นความสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CAI แต่เนื่องจากสื่อมัลติมีเดียที่จำหน่ายมีราคาค่อนข้างแพงและไม่ค่อยสอดคล้องกับของหลักสูตร การลงทุนจึงไม่ค่อยได้ผลเต็มที่
สถาบันการศึกษาหลายแห่งแก้ปัญหาด้วยการผลิตสื่อมัลติมีเดียเอง
ซึ่งแม้จะเป็นทางออกที่ดี
แต่ในเชิงปฏิบัติมีอุปสรรคมากพอสมควร
แนวคิดในการแก้ปัญหานี้น่าจะเป็นการผสมผสานระหว่างการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการผลิตขององค์กรเอกชน
และขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้หน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการศึกษาของประเทศ
จัดระบบการผลิตที่เต็มรูปแบบและต่อเนื่องอีกทางหนึ่งได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น